วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การบริหารแบบTipCo

***TipCo เป็นส่วนหนึ่งในหนังสือการดำเนินงานตามนโยบาย  7  ก้าวสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนวัดพระเงิน (อิศราวิทย์อุปกรณ์) 
"การบริหารงานแบบ TipCo  ได้รับรางวัลนวัตกรรมการบริหารงานดีเยี่ยม  อับดับ  1 จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน    (สพฐ.) "  

ความเป็นมาของการบริหารงานแบบ  TipCo โดย ดร.เฉลียว  ยาจันทร์ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ

                        การบริหารงานแบบ  TipCo  เป็นการบริหารงานที่ผู้เขียนได้นำแนวคิดและหลักการของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School – based  Management) : SBM  การบริหารคุณภาพทั้งองค์การ (Total Quality Management) :TQM  ระบบการควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circle ) : Q.C.C. และการพัฒนาสถานศึกษาทั้งระบบ(Whole School Approach) : WSA มาประยุกต์หลอมรวมเป็นการบริหารงานแบบ TIPCo     
หลักการและแนวคิดการบริหารงานแบบ  TipCo 

              การบริหารงานแบบ  TipCo  เป็นการบริหารงานในรูปขององค์คณะบุคคล               โดยบูรณาการนโยบายต้นสังกัด ภารกิจ  กิจกรรม  ความรับผิดชอบ  ทรัพยากร  บุคลากรและเทคโนโลยีนำมาหลอมรวมเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานของโรงเรียน  เน้นการทำงานเป็นทีมและเน้นการเข้าใจ  ยอมรับและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโรงเรียน (Stakeholder)  ในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน  โดยมีหลักในการทำงานร่วมกันว่า ร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมกันแก้ปัญหาและร่วมกันภาคภูมิใจและเน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นพลวัตร (Dynamic) โดยมีเป้าหมายนักเรียนสำคัญที่สุด

องค์ประกอบของการบริหารงานแบบ  TipCo   
T    =  Teamwork        แปลว่า    การทำงานเป็นทีม
I     =   Integration       แปลว่า    การบูรณาการ
P   =   Participation   แปลว่า    การมีส่วนร่วม
               Co    =   Continuous Improvement  แปลว่า  การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

รายละเอียดของการบริหารงานแบบ  TipCo      
                  T  ย่อมาจากคำว่า  Teamwork  หมายถึง  การทำงานเป็นทีมของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนวัดพระเงิน (อิศราวิทย์อุปกรณ์)  ซึ่งประกอบไปด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
                  1. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในส่วนที่ไม่ใช่บุคลากรในโรงเรียนจำนวน  12  คน
                  2.  คณะกรรมการมูลนิธิหลวงปู่คร้ามเพื่อการศึกษาโรงเรียนวัดพระเงิน                  (อิศราวิทย์อุปกรณ์) ในส่วนที่ไม่ใช่บุคลากรในโรงเรียนจำนวน   20   คน
                  3.  ผู้ทรงคุณวุฒิ  ที่นอกเหนือจากบุคคลในข้อ  1 และ 2  ในเขตบริการของโรงเรียน  4  หมู่บ้านคือ  หมู่ที่  6 , 7 , 8 และ 10  ตำบลบางม่วง  อำเภอบางใหญ่  จังหวัดนนทบุรี  หมู่บ้านละ  2  คนโดยได้มาจากการคัดเลือกของประชาชนในหมู่บ้านรวม  8  คน  มีวาระ  3  ปีการศึกษา  กรรมการในข้อ  1 ,  2  และ 3  เป็นกรรมการอำนวยการโรงเรียนในส่วนของชุมชน
                  4.  ครู   การบริหารงานของโรงเรียนได้ดำเนินการบริหารงานแบบ               องค์คณะบุคคลที่เรียกว่า คณะกรรมการบริหารโรงเรียน  ซึ่งประกอบไปด้วยผู้บริหารโรงเรียน  หัวหน้างาน  6  งาน  รวม  7  คน  มีวาระ 1  ปีการศึกษา 
                  5.  นักเรียน  มีคณะกรรมการในรูปของสภานักเรียน  ซึ่งประกอบด้วยประธานนักเรียน 1  คน ได้มาโดยการเลือกตั้งจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 ถึง  ชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โดยจะเลือกตั้งในวันศุกร์ที่  3  ของเดือนมีนาคมของทุกปีการศึกษาและผู้แทนนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา ปีที่  1  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ชั้นเรียนละ  3  คน  รวม  18  คน  รวมเป็นคณะกรรมการสภานักเรียนทั้งหมด  19  คน มีวาระ 1  ปีการศึกษาและดำเนินการเลือกบุคคลจาก  18  คน  มาเป็นรองประธานสภานักเรียน  เลขานุการสภานักเรียน   คณะกรรมการสภานักเรียนทุกคนถือเป็นคณะกรรมการอำนวยการโรงเรียนด้วย

ลักษณะการทำงานเป็นทีมของโรงเรียนวัดพระเงิน (อิศราวิทย์อุปกรณ์)
                  1. มีการกำหนดนโยบาย  จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ในการทำงานที่ชัดเจน
2. สมาชิกทุกคนของทีมงานรับรู้นโยบาย  จุดมุ่งหมาย  และวัตถุประสงค์ในการทำงานอย่างทั่วถึงและมีความเข้าใจตรงกัน
3. สมาชิกมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานของตนเองมากที่สุด
4. การกำหนดบทบาท  หน้าที่  ความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานของสมาชิก  มีความชัดเจนและมีความเข้าใจตรงกัน
5. การสื่อสารเป็นแบบเปิด (Open  Communication)  เพื่อให้สมาชิกทุกคนรับทราบข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ  ได้อย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารแบบบนลงล่างหรือแบบล่างขึ้นบนก็ตาม
6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงานอยู่เสมอ
7. การแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจากอะไรก็ตามจะใช้หลักการประนีประนอมโดยคำนึงถึงความพอใจของทุกฝ่ายเป็นสำคัญ
8. มีความเชื่อใจและไว้วางใจซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิกของทีม
9. สมาชิกแต่ละคนจะมีความจริงใจและมีความซื่อสัตย์ต่อโรงเรียน

                  I   ย่อมาจากคำว่า   Integration   แปลว่า   การบูรณาการ  ซึ่งหมายถึง                การบูรณาการนโยบายต้นสังกัด   ภารกิจ   กิจกรรม   ความรับผิดชอบ   ทรัพยากร              บุคลากรและเทคโนโลยีนำมาหลอมรวมเป็นนโยบายและแนวคิดในการทำงาน                  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการจัดการของโรงเรียนให้ได้มากที่สุด
แผนภูมิที่  2  การบูรณาการการจัดการศึกษาของโรงเรียนวัดพระเงิน
                              (อิศราวิทย์อุปกรณ์)
P  ย่อมาจากคำว่า  Participation  หมายถึง  การมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม            ทุกขั้นตอนการดำเนินงานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโรงเรียน (Stakeholder) ได้แก่
v
 นักเรียน  
v  ครู 
v  ผู้บริหาร 
v  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน   
v  คณะกรรมการมูลนิธิหลวงปู่คร้าม 
v  ผู้ปกครองนักเรียน 
v  ชุมชน
                  ซึ่งบุคคลดังกล่าวจะมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนในรูปคณะกรรมการอำนวยการของโรงเรียน ในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงานโดยมีหลักในการทำงานร่วมกันว่า ร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมกันแก้ปัญหาและร่วมกันภาคภูมิใจ
                  Co  ย่อมาจากคำว่า  Continuous Improvement   แปลว่าการพัฒนาอย่างต่อเนื่องหมายถึง  มีการดำเนินงานในทุกกิจกรรมของโรงเรียนอย่างต่อเนื่องเป็นพลวัตร  (Dynamic)  โดยใช้วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle)  เป็นขั้นตอนในการปฏิบัติงานได้แก่               การวางแผน  การปฏิบัติ  การประเมินผลและการปรับปรุงแก้ไข  ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในด้านต่าง ๆ  ของโรงเรียนโดยเฉพาะการบริหารที่เน้นผลงานเป็นหลัก



แผนภูมิที่ 4  แสดงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของโรงเรียนวัดพระเงิน (อิศราวิทย์อุปกรณ์)
ขั้นตอนการบริหารงานแบบ  TIPCo           
                  1.  วิเคราะห์ปัญหาและประเมินความต้องการจำเป็น
                  2.  วิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหา
                  3.  จัดทำแผนปฏิบัติการ  
                  4.  ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ
                  5.  นิเทศติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
      6.  สรุปผลและรายงานคุณภาพการจัดการศึกษา
           
1. วิเคราะห์ปัญหาและประเมินความต้องการจำเป็น
                  ประชุมระดมสมองจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนซึ่งประกอบด้วย  ผู้บริหารสถานศึกษา  ผู้แทนครู  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการมูลนิธิหลวงปู่คร้าม  ผู้แทนผู้ปกครอง  ผู้แทนประชาชนในเขตบริการและผู้แทนนักเรียนในประเด็นดังต่อไปนี้
                  1) วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนประเด็นสำคัญการพัฒนา
                  2) ทำความเข้าใจวิสัยทัศน์และภารกิจของสถานศึกษา
                  3) สำรวจความต้องการด้านการศึกษาของผู้ที่เกี่ยวข้อง
                  4) จัดทำภาพรวมของสถานศึกษา
2. วิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหา             
                  1) กำหนดประเด็นสำคัญของการพัฒนา
                2) ตัดสินใจเลือกประเด็นสำคัญที่จะดำเนินการพัฒนา
                  3) กำหนดเป้าหมายการพัฒนา
      4) กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา 
3. จัดทำแผนปฏิบัติการ 
                  1) แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการประกอบด้วย  ผู้บริหารสถานศึกษา  ผู้แทนครู  ผู้แทนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้แทนคณะกรรมการมูลนิธิหลวงปู่คร้าม  ผู้แทนผู้ปกครอง  และผู้แทนประชาชนในเขตบริการโดยใช้ข้อมูลจากปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา  และสิ่งที่ต้องการพัฒนาเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในธรรมนูญโรงเรียนรวมถึงความต้องการของท้องถิ่นและชุมชน
                  2) คณะกรรมการจัดทำแผนทำความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการคิดโครงการที่จะตอบสนองนโยบายด้านการศึกษาและความคาดหวังของชุมชน
      3) ประสานความร่วมมือทางวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญ
                  4) คณะกรรมการจัดประชุมวางแผนการดำเนินงานเพื่อกำหนดกรอบภาระงาน
                  5) กำหนดแผนปฏิบัติงานรายปี
                       
4. ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ
      1)  จัดประชุมผู้รับผิดชอบงาน / โครงการให้มีความรู้  ความเข้าใจขอบข่ายภารกิจงานโดยจัดประชุมก่อนเปิดภาคเรียนที่  1 
                  2)  จัดประชุมใหญ่เตรียมการก่อนเปิดภาคเรียน  มอบหมายงานอย่างเป็นทางการและประชุมชี้แจงทำความเข้าใจส่วนต่างๆ  ของการปฏิบัติงานตามแผน
      3)  ดำเนินงานตามแผน

5. นิเทศติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
      1)   แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศภายใน  กำกับ  ติดตาม  นิเทศงาน / โครงการตามแผนปฏิบัติการ
      2)   ประชุมประเมินผลระหว่างดำเนินการ   ก่อนปิดภาคเรียนที่  1  เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้า  ปัญหา  อุปสรรคในการดำเนินงาน  เพื่อเป็นข้อมูลปรับปรุงแก้ไขแผนที่จะใช้ต่อไป
      3)  ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการต่อในภาคเรียนที่  2
      4)  ประเมินผลเมื่อสิ้นสุดโครงการและประชุมประเมินผลเมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา

6. สรุปผลและรายงานคุณภาพการศึกษา
      1)  สรุปผลการดำเนินงาน  นำข้อมูลไปวางแผนในปีการศึกษาต่อไป
      2)  จัดทำเป็นรายงานการดำเนินงานประจำปี
                  3)  ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ต่อสาธารณชน

ท่านที่นำไปใช้ในการบริหารงานติดต่อแจ้ง ดร.เฉลียว  ยาจันทร์ ให้ทราบก่อนเพื่อขออนุญาต
ยินดีให้คำแนะนำเพื่อเป็นวิทยาทานแก่ทุกๆท่าน
อนึ่งนวัตกรรมการบริหารงานแบบ TipCo นี้เป็นส่วนหนึ่งของการทำผลงานเชี่ยวชาญ
ซึ่งเขียนอยู่ในหนังสือ"นโยบายการบริหารงาน 7 ก้าวสู่ความเป็นเลฺิศ"เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดพระเงิน(อิศราวิทย์อุปกรณ์) พ.ศ.2547
และได้นำหนังสือ"นโยบายการบริหารงาน 7 ก้าวสู่ความเป็นเลฺิศ"จดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาไว้เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2547